Site icon moveonblog.com

เข้าใจ ?! ภาษาวัยรุ่นด้วยพจนานุเกรียน

เกรียน พจนานุกรม ภาษาวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน

เข้าใจกันมากขึ้นก็ใกล้กันมากขึ้น

ยุคที่ทวิตเตอร์มาไวกว่าข่าวทีวี และข่าวช่องหลักนำโพสต์บนเฟซบุ๊กหรือโซเชียลอื่น ๆ มาตีพิมพ์แทนที่จะไปหาข่าวเอง แน่นอนว่า นี่ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลยนะคะหากเราไม่เข้าใจศัพท์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะคำศัพท์ของวัยรุ่นยุคใหม่ที่สรรหามาใช้กันในโลกอินเทอร์เน็ตเนี้ยะ และบัตเตอร์ คัตเตอร์ผู้เขียน moveonblog.com ก็เป็นอีกคนที่ไม่ประสีประสาใด ๆ แบบตามวัยรุ่นไม่ค่อยจะทันเช่นกันค่ะ (555+) จนกระทั่งได้ไปเจอกับเว็บไซต์แห่งหนึ่ง คือ พจนานุเกรียนที่รวมคำศัพท์วัยรุ่นสายเกรียน ๆ ไว้เพียบ !!! สำหรับการใช้งานของพจนานุเกรียนเนี๊ยะ ออกแนวล้อเลียนแบบพจนานุกรมมาเป๊ะ ! เพราะมีให้ศึกษาภาษาเกรียนจาก

หน้าตาของเว็บไซต์เป็นแบบนี้ ….

ความน่าสนใจของพจนานุเกรียน คือ มีช่องให้โหวตด้วยว่า คำศัพท์นี้แปลความหมายนี้ถูกต้องไหม ?

หลังจากนั้นเราก็พบกับ “คำนิยามที่ดีที่สุด” มาพร้อมความบันเทิงในระดับ 10 กับภาษาสแลงฉบับเกรียนของแท้

ไม่เชื่อมาดู 25 คำศัพท์ที่เราหยิบยกมาให้…

1. “แก่ ใจดี สปอร์ต กทม.”

เคยเป็นคำฮิตช่วงหนึ่งแต่ช่วงนี้เหมือนจะใช้บ้างไม่มากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว

2.”เงียบ สงสัยไม่ช็อต”

3. “กูจะเลิกชอบแล้วเว้ย”

เฮ้อ … เจอเพื่อนสนิทพูดคำนี้ทีไหร่เหนื่อยใจทุกทีร่ำไปสิหน่า

4. “ขนลุกเลยอ่ะแก”

ยังคงเป็นคำศัพท์ไม่หวือหวามากที่เราคัดมามักจะเห็นได้ทั่วไป

5. “เบย”

เพราะตัวอักษร “ล” ใกล้กับ “บ” พิมพ์เร็ว ๆ ก็กลายเป็น “เบย”

6. “เงอะ”

เป็นคำที่ต้องหยิบมาให้อ่าน เพราะเป็นคำที่ไม่ค่อยได้ยินเท่าไหร่ ใช้เป็นคำอุทานของเหล่าวัยใสล่ะจ้า

7. “ถั่วต้ม”

คำเก่าแต่ยังคงใช้กันอยู่

8. “ถถถถถถถถถถ”

ตรงนี้ บางทีผู้เขียนก็เคยลืมเปลี่ยนภาษาเหมือนกันจ้ะ อิอิ ยิ้มเขิน

9. “แถ”

ส่วนหนึ่งคิดว่าเป็นคำศัพท์ที่เพี้ยนมาจาก “แถจนสีข้างถลอก” ย่อสั้นเหลือแค่คำว่า “แถ” ใช้เหน็บแนมที่มักจะได้ยินและเห็นคนที่อ้างเรื่อยเปื่อย ทั้ง ๆ ที่ตัวเองผิดเป็นต้น

10. “มาฟวยทวิตเตอร์”

กับมาฟวยทวิตเตอร์ เป็นคำที่แปลกใหม่มากค่ะสำหรับผู้เขียน (ต้องยอมรับ) เพราะไม่ค่อยได้เล่นทวิตเตอร์เท่าไหร่นัก

11. “ทำการบ้านเสร็จหรือยัง”

อืม … เอาเป็นว่า โนคอมเมนต์นะคะ 55+ เอาเป็นว่า การลอกการบ้านเพื่อนเนี้ยะ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำนะคะ แนะนำน้อง ๆ หนู ๆ อย่าลืมทำการบ้านและส่งให้ตรงเวลาด้วยล่ะ

12. “แซะ”

เรามักจะเห็นตามเฟซบุ๊กที่นิยามตัวเองหรือผู้อื่นขึ้นมาว่าเป็น “ชาวท่าแซะ” สำหรับคนที่ชอบนินทาและว่ากล่าวเป็นประจำ แบบไม่รู้ว่าใคร เน้นว่าลอย ๆ แบบนั้น

13. “สักฝุ่นไหม”

เป็นคำศัพท์ที่เห็นบ่อย ๆ จากคนเล่นเกมโดยเฉพาะเกม ROV ที่ชอบใช้คำนี้ “สักฝุ่นไหม?” หรือกลุ่มคนขับรถที่ชอบใช้คำว่า “สักฝุ่นไหม” เพื่อชวนกันไปขับรถ หรือแข่งรถ

14. “อากู๋”

คำว่า “อากู๋” ไม่ใช่คำเรียกชื่อแค่เจ้าของแกรมมี่นะคะ แต่วัยรุ่นใช้เรียก Google.com จ้ะ ก็ไม่รู้ว่า กูลเกิ้ลมาเป็นน้องชายพ่อของเราเมื่อไหร่เนาะ 555+

15. “เยอะ”

เป็นคำกล่าวไม่ได้หมายความถึงปริมาณข้าวของที่นับได้ แต่อธิบายถึงนิสัยของคนที่เกินไปมากเกินควร เช่น คนนี้เยอะจัง หมายความว่า เกินพอดี เกินงามค่ะ

16. “เติมน้ำมัน”

ยอมใจจริง ๆ จ้า สำหรับคำนี้ ภาษาวัยรุ่นที่เราต้องรู้เลยล่ะ เผื่อถ้าลูก ๆ หลาน ๆ บอกไปเติมน้ำมันแล้วไม่มีรถมอไซค์ หรือไม่มีรถยนต์ขับไปเนี้ยะ อืม น่าคิดนะ

17. “ตามนั้นย์”

เห็นด้วย ว่าไงว่าตามกัน ? ส่วนใหญ่ใช้เป็นคำลงท้ายประโยคค่ะ วัยรุ่นชอบใช้กัน

18. “ตู้เย็น”

คำศัพท์เครื่องใช้ไฟฟ้ามาแบบนี้ … เอาเป็นว่า ถ้าได้ยิน หรือได้พบเห็นจากลูกหลาน ควรสอบถามให้ดี อย่างใจเย็น อย่าเพิ่งถึกทักไปไกลละ บางทีน้อง ๆ อาจจะอยากช่วยงานบ้าน หรือช่วยล้างตู้เย็นในครัวจริง ๆ ซึ่งคำศัพท์นี้ก็ทำให้การใช้ภาษาไทยชวนเวียนหัวมากขึ้นไปอีกระดับเลยล่ะ

19. “ไฝแห้ง”

เป็นคำที่ใช้เมื่อผิดหวังหนัก ๆ ส่วนใหญ่จะใช้ตอนที่พลาดมาก ๆ

20. “ปุอิ๊ง”

พระเจ้า ! ไม่ธรรมดากับคำศัพท์นี้ เพิ่งเคยเห็นครั้งแรกเหมือนกันค่ะ แปลกดี ปุอิ๊งๆ

22. “แพรว”

เมื่อคำว่า แพรว ไม่ใช่ชื่อคนหรือชื่อนิตยสารอีกต่อไป!!!

23. “ฟินนาเร่”

ไม่ใช่คำเรียกชุดเดินแบบแต่เป็นคำบรรยายความรู้สึก!!!!!

24. “แจ่ม”

คำว่า “แจ่ม” คิดว่าน่าจะปรับมาจาก “แจ่มแจ้งแดงแจ๋” ย่อให้สั้นแล้วปรับให้ตรงมั้งนะ

25. “ฝรรดี”

พบเห็นบนโซเชียลมีเดียบ่อย ๆ “ฝรรดี” เพี้ยนมาจากคำว่า “ฝันดี” …

สำหรับใครที่อ่านครบจบทั้งหมด คงต้องบอกว่า “คุณเก่งมาก ๆ ” และอย่าเพิ่งเวียนหัว หรือปวดไมเกรนนะคะ

ส่วนหนึ่งที่เรานำเสนอคอนเทนต์นี้ เพราะต้องการให้คุณผู้อ่านทำความเข้าใจวัยรุ่นมากขึ้น กับคำศัพท์ใหม่ ๆ ทั้งหลาย และส่วนตัวผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาสนับสนุนให้ใช้ภาษาวิบัตินะคะ เพียงนำเสนอเพื่อความสนุกสนานและเปิดมุมมองใหม่ ๆ ให้กับผู้อ่านเท่านั้น

เพราะการเปลี่ยนแปลงของภาษาเป็นเรื่องธรรมดาที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาซึ่งเกิดขึ้นกับภาษาที่ยังไม่ตาย และยังมีผู้ใช้จริง เพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน และภาษาไทยก็เช่นกัน เพียงแต่ว่าจะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันนะคะ

ดังนั้น เรียนรู้ภาษาเล่านี้ได้ แต่ต้องใช้ให้ถูกกาลเทศะด้วยนะ 🙂