7 วิธีเอาชนะอาการหมดไฟ และความรู้สึกเบื่องาน

7 วิธีเอาชนะอาการหมดไฟ และความรู้สึกเบื่องาน

จู่ ๆ ก็เบื่อไม่อยากทำอะไรเลย

โอ้ยยยยยยยยยยย ฉันไม่อยากทำงาน รู้สึกเบื่องานมาก ๆ ไม่อยากทำเลย อยากจะลาออกให้รู้แล้วรู้รอด !! หากคุณกำลังมีความคิดเช่นนี้ ช้าก่อน ใจเย็นก่อนอย่าเพิ่งวู่วามคิดทำอะไร เพราะนี้เป็น อาการของคนหมดไฟ หรือ Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน จากที่เคยรู้สึกกระปรี้กระเปร่าอยากทำงาน ตอนนี้กลับรู้สึกว่า Passion หมด แรงบันดาลใจหดหายไม่รู้สึกอยากทำอะไร จากที่เคยชอบก็เปลี่ยนเป็นเบื่อหน่าย จากที่เคยโอเคตอนนี้ดูแย่ไปหมด

เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีว่า Move on blog ไม่โมเมข้อมูลขึ้นมาเอง เราขออ้างอิงแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับความรู้สึกเบื่องาน ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานเกิดจากความเครียดเป็นหลัก ซึ่งผลการสำรวจจาก Gallup พบว่า

มนุษย์เงินเดือนทั่วโลกกว่า 87% เลือกที่จะไม่ทำงานและขอลาออก ซึ่งมีสาเหตุเกิดการเบื่องาน!!!

ลาออกเพราะเบื่องาน



ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับคนที่ทำงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้คน ซึ่งอาการรู้สึกเบื่องานเกิดขึ้นได้หากคน ๆ นั้นไม่ประสบความสำเร็จในงานอย่างที่คาดหวัง หรือผิดหวังบ่อยครั้ง ทำให้เกิดแนวคิดด้านลบกับงานและอาชีพของตนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นความกดดันอย่างแรง ส่งผลให้คนนั้นขาดงาน ย้ายงานบ่อย และลาออกจากงานบ่อยครั้ง นอกจากนี้ยังทำให้คุณภาพชีวิตของบุคคลนั้นลดลงอีกด้วย

10 วิธีเอาชนะอาการหมดไฟ และความรู้สึกเบื่องาน

Burnout Syndrome คืออะไร ?

สำหรับภาวะหมดไฟรู้สึกเบื่องาน Burnout Syndrome ที่ว่านี้ คุณหมอฮัน เซลยี อาจารย์แพทย์จากมหาวิทยาลัยมอลทรีลออล ประเทศแคนาดา ได้แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  • ความรู้สึกเบื่องานขั้นแจ้งเตือนอาการเบื้องต้น (Stage of Alarm)

เป็นระยะแรกที่รู้สึกเครียด สารเคมีในร่างกายของคนนั้นค่อนข้างแปรปรวน รู้สึกไม่โอเค ไม่สามารถรับมือกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองได้เมื่อเจอกับความกดดันในการงาน

  • ระยะต่อต้าน (Stage of Resistance)

รู้สึกเบื่องานขั้นนี้จะรุนแรงขึ้น จากตัวกระตุ้นเช่นบุคคล การงาน และอื่น ๆ หากไม่มีเวลาคิดทบทวน หรือจัดการความเครียด ปรับตัวไม่ได้ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3

  • ระยะหมดไฟอย่างแรง (Stage of Exhaustion)

แน่นอนว่าการเผชิญหน้ากับความเครียด ความกดดัน ความผิดหวังตลอดเวลา คุณจะมาถึงระยะนี้มีความเครียดรุนแรง ไม่สามารถรับอะไรได้อีก ปรับตัวไม่ไหวอีกต่อไป ส่งผลให้เราอ่อนล้าเต็มที่ไม่เห็นปลายทาง (ร้องมาเป็นเพลง ความพยายาม No More Tear เลย) กลายเป็นความเบื่อหน่ายในที่สุด แนะนำให้หาเวลาพักผ่อน ปล่อยสมองโล่ง ๆ บ้างจะทำให้ความเครียดนี้ผ่อนคลาย หากปล่อยไว้นานระวังสุขภาพจะเสียได้นะ

กว่า 87%ของมนุษย์เงินเดือนทั่วโลก ลาออก เพราะเบื่องาน

เมื่อรู้จักภาวะ Burnout Syndrome แล้วมาอ่าน 7 วิธีปรับแนวคิดเอาชนะความรู้สึกเบื่องานกันเถอะ

รับมือกับสถานการณ์นี้อย่างเข้าถึงและเข้าใจ เติมพลังให้ไฟแห่งการทำงานลุกโชนขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นวิธีการเบื้องต้นแบบฉบับปรับจากตัวเรา มีดังนี้

10 วิธีเอาชนะอาการหมดไฟ และความรู้สึกเบื่องาน

1. มองหาสาเหตุที่แท้ทรู

การพิจารณาว่าความเหนื่อยหน่ายที่ว่านั้น เกิดจากสาเหตุไหน เช่น เกิดจากการทำงานหนักเพราะต้องการความสำเร็จ แต่กลับต้องผิดหวัง หรือเป็นเพราะเราทำงานมานาน ขาดการพัฒนาตัวเอง และไม่พัฒนาในสายงานทำให้ความสามารถน้อยกว่าคนในทีมทำให้เกิดการดูถูกตัวเอง หากเป็นเพราะเราขาดกลยุทธ์ที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหา หรือปล่อยให้เรื่องราวเรื้อรังจนเกินแก้ไขได้ ก่อให้เกิดภาวะเบื่องานและหมดไฟ เมื่อทราบเหตุผลแล้ว จงแก้ไขให้ถูกจุดค่ะ




2. ยอมรับความจริง

ไม่มียาไหนรักษาคุณได้ดีเท่ากับยาใจที่คุณยอมรับความจริง สิ่งที่เกิดขึ้น ลองคิดทบทวนให้ดีเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น เช่นว่า ความเครียดที่เกิดขึ้นเป็นเพราะงานเยอะทำไม่ทัน คุณก็ควรมองหาแพลนการทำงานใหม่ ลองเขียน To do list ดูไหม ? ว่าในแต่ละวันอยากทำอะไร และมีภารกิจอะไรบ้างที่คุณจะต้องทำให้เสร็จ เขียนทุกคืนก่อนนอน และลุกขึ้นมาทำภารกิจนั้น ๆ ให้สำเร็จเสร็จสิ้นในแต่ละวัน วิธีนี้ก็ช่วยได้เลยค่ะ เพราะจะทำให้ลดความเครียด ลดงานคั่งค้าง และลดความเสี่ยงว่าจะลืมส่งงานได้อีกด้วยนะ

หมดไฟในการทำงาน

3. หัดปฏิเสธให้เป็น

เลือกทำงานและทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด อย่ารับงานทุกอย่างมาทำทั้งหมด ตรงนี้เราไม่ได้แนะนำให้คุณเป็นคนเห็นแก่ตัวนะ แต่อยากให้คุณทุ่มเทกับสิ่งที่ทำให้ดีเสียก่อน หากคุณเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ เคยมีพลังเหลือเฟือแต่วันนี้กลายเป็นคนหมดไฟไปซะงั้น ตรงนี้ขอแนะนำว่า ให้คุณปฎิเสธความช่วยเหลือผู้อื่นลงบ้าง แบ่งเวลาให้ถูกต้องเหมาะสม เลือกทำงานของตัวเองให้สำเร็จก่อน ช่วยผู้อื่นได้แต่ก็ช่วยเท่าที่ช่วยไหว วิธีนี้จะทำให้ความเครียดในการทำงานลดลงค่ะ

วิธีเอาชนะอาการหมดไฟ และความรู้สึกเบื่องาน

4. หาวันหยุดพักผ่อนให้ตัวเอง

เมื่อรู้ว่าเครียดอย่าหักโหมจนเกินไป หากมีวันลาพักร้อนเหลือ ๆ ก็หยุดพักผ่อนเสียบ้าง เพราะร่างกายคนเราไม่ใช่เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ ลองพาร่างกายไปปะทะคลื่นทะเล ให้ภูเขากอด หรือจะออกเดินทางต่างประเทศท่องเที่ยวในสถานที่ที่แปลกใหม่ไม่เคยไปก็ช่วยได้เหมือนกันนะคะ หรือจะนั่งเล่นเกม ทำกิจกรรมงานอดิเรก เช่น ปลูกต้นไม้ เล่นกับสัตว์เลี้ยงอยู่ที่บ้านก็ได้นะคะ เลือกแบบที่ชอบได้เลย

5. ลองเป็นคนไม่สมบูรณ์แบบดูบ้าง

เพราะความสมบูรณ์แบบไม่ใช่ทุกอย่าง ไม่มีใครที่เกิดมาโดยที่ไม่เคยทำผิดพลาด จำไว้ว่า “คนที่ไม่เคยผิดพลาด ย่อมไม่มีโอกาสได้เรียนรู้” เพราะชีวิตยังมีพรุ่งนี้เสมอ ซึ่งทุกบทเรียนนั้นมีข้อดีอยู่เสมอ ดังนั้น จงเรียนรู้กับความผิดหวัง และระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้นอีกจะดีกว่า

6. ใช้ชีวิตให้ยืดหยุ่นมากขึ้น

หากคุณเป็นคนที่ไม่ยอมกินข้าวหากทำงานไม่เสร็จ หรือมีประโยคในใจว่า “ฉันจะทำงานนี้จนว่าจะเสร็จสิ้นถ้างานไม่เสร็จก็จะนั่งทำอยู่ตรงนี้” Move on blog อยากให้คุณเปลี่ยนเป็นประโยคว่า “ฉันจะทำงานจนถึงเวลา XX:XX น. หากถึงเวลานี้ฉันจะหยุดพักผ่อน และจะเริ่มทำงานใหม่อีกครั้งจนงานเสร็จสมบูรณ์” ในที่นี้เราไม่ได้หมายความว่าให้คุณเป็นคนผลัดวันประกันพรุ่งแต่อย่างใด เพราะการใช้ชีวิตที่ซีเรียสเคร่งเครียดกับเป้าหมายของชีวิตมากเกิน เช่น อยากประสบความสำเร็จเพราะต้องการอยากเลื่อนขั้นทำให้เราทุ่มแรงทุกอย่างเพื่อสิ่ง ๆ นั้น โดยที่ไม่สนใจว่าจะเหนื่อยแค่ไหน ตรงนี้ถ้าคุณโอเคกับใจก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าสิ่ง ๆ นั้นกลายเป็นความกดดัน ความเครียดที่เพิ่มเท่าทวีคูณ ลุกลามทำให้คุณหมดไฟในที่สุดได้เช่นกัน ดังนั้น ลองมองหาชีวิตที่ยืดหยุ่นแบบลงตัวจะดีที่สุดค่ะ พักก็พัก ทำงานก็ทำงาน แบ่งสัดส่วนให้ดีรับรองว่าอาการเบื่องานจะไม่วกกลับมาหาคุณอีกแน่นอน

วิธีเอาชนะอาการหมดไฟ และความรู้สึกเบื่องาน

7. หากเหนื่อยล้าขอจงหยุดพักเสียก่อน

ถ้ารู้สึกแย่ ตอนที่กำลังทำงาน อย่าพยายามกดดันนั่งทำงานอยู่แบบนั้น ลองลุกจากโต๊ะ เดินออกไปยืดเส้นยืดสายสัก 3-5 นาทีเสียก่อน หรือลองพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเพื่อหาไอเดีย พักฟังเพลงโปรด หรือเข้าห้องน้ำห้องท่าผ่อนคลายอิริยาบทแล้วค่อยกลับลุยงานใหม่!! จิบน้ำสักแก้ว จิบกาแฟสักหน่อยแล้วเรามาเริ่มกันเล้ยยยย

ทั้งหมดนี้ก็เป็น 7 วิธีเอาชนะอาการหมดไฟ และความรู้สึกเบื่องานแบบฉบับง่าย ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้เบื้องต้นได้ เพราะเป็นการช่วยรีชาร์จพลังการทำงานของคุณให้กลับมาอีกครั้ง ลดความเครียด บอกลาอาการเบื่องาน และอย่างที่บอกค่ะ Let’s move. ต่อไปนะคะ เป็นกำลังใจให้จ้า

Source:

  • library.tu.ac.th/thesis/lib/1074/03chapter2.pdf
  • psychologytoday.com/us/blog/pressure-proof/201306/7-strategies-prevent-burnout
  • 99u.adobe.com/articles/24201/11-ways-to-avoid-burnout

เราจะอยู่กับภาวะสิ้นหวัง หมดกําลังใจในการใช้ชีวิตได้อย่างไร