ต้องลองใช้! Journalist Studio ตัวช่วยคิดคอนเทนต์

ต้องลองใช้! Journalist Studio ตัวช่วยคิดคอนเทนต์

“ในยุคสมัยที่ Fake News มีมากมาย!! ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เราจะทำคอนเทนต์!!!!

หากกล่าวถึงการทำคอนเทนต์ (Content) บทความบนเว็บไซต์ (Website) บนโซเชียลมีเดีย (Social Media) หรือบทความสำหรับเสิร์ฟลงบล็อกเว็บไซต์ แน่นอนว่า ความน่าเชื่อถือของข้อมูลต้องมาเป็นอันดับแรก

และผู้เขียนอยากจะแนะนำ ตัวช่วยหาข้อมูลเพื่อทำการคิดคอนเทนต์ เพียงแค่เราใช้ Google Search กดค้นหาจากเว็บไซต์ www.google.com พิมพ์ “คำค้นที่อยากค้นหา” หรือ”เรื่องราวที่อยากค้นหา” นั่นอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะอะไรหน่ะหรือ ? ก็เพราะว่า คอนเทนต์ที่เราเจอบนเว็บไซต์ต่างๆ อาจถูกแต่งแต้มด้วยการทำ SEO เพื่อดึง Traffic เข้าสู่เว็บไซต์ หรืออาจเคยถูกคัดลอกมาก่อนและทำสปิน (Spin) บทความกันต่อมาเป็นทอด ๆ ซึ่งเรามิอาจทราบได้เลยว่า “ข้อมูลที่เราเห็นนั้นนั้นจริง หรือถูกตกแต่งขึ้นกันแน่”

แล้วแบบนี้ Content Creator จะหาข้อมูลสดใหม่!! มาปั้น Content ดี ๆ สักอัน เราจะไปหาที่ไหนดีละเนี้ยะ เอาเป็นว่า เราขอแนะนำ Journalist Studio แพลตฟอร์มจาก Google ที่รวบรวมข้อมูลน่าสนใจเอาไว้ให้เราค้นหาราวกับเดินเข้าไปในห้องสมุดเลยล่ะค่ะ

ลองใช้ Journalist Studio Google ดูสิ

ภายใต้สโลแกน “A collection of tools to empower journalists to do their work more efficiently, creatively, and securely.” และยิ่งเป็นเครื่องมือ Search Engine ยักษ์ใหญ่ของวงการ!!!! ลงมารวบรวมช่องทางให้เราได้ใช้ค่ะ

Journalist Studio มีฟีเจอร์อะไรให้ใช้บ้าง ?

  • Dataset Search แพลตฟอร์มช่วยค้นหาชุดข้อมูล บทความวิชาการ มีทั้งตาราง เอกสาร รูปภาพ วิทยานิพนธ์ ฯลฯ 
  • Public Data ข้อมูลเปิดให้ใช้โดยอิสระ
  • The Common Knowledge Project

ถ้าสนใจอยากทำความเข้าใจเพิ่มเติมอย่างลึกซึ้ง ผู้เขียนเองได้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเจาะลึก อธิบายวิธีการใช้งานมาให้ด้วยนะคะตามนี้!!

1. Dataset Search

ความน่าสนใจของ Dataset Search ระบุข้อมูลค่อนข้างละเอียด เช่น อัปเดตชุดข้อมูลเมื่อไหร่, จัดหาชุดข้อมูลโดยใคร และคำอธิบายของข้อมูลดังกล่าว อีกทั้งช่วยลดปัญหาการถูกฟ้องร้อง! เพราะในข้อมูลนั้น ๆ จะระบุว่า เราสามารถใช้ข้อมูลได้หรือไม่ ? อนุญาตให้ใช้งานเชิงพาณิชย์ไหม หรือไม่อนุญาต! เรียกได้ว่า “สบายใจ”

คลิกดู Dataset Search 

2. Public Data

ตัวช่วยคนทำคอนเทนต์ ที่ต้องการข้อมูลแน่น ๆ การใช้ข้อมูลแบบ Public Data ข้อมูลเปิดที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ เป็นข้อมูลจากภาครัฐ และยังเป็นแหล่งเก็บข้อมูลหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น World Economic Forum, World Bank, OECD Factbook 2013 โดยข้อมูลทั้งหมดจะมีเป็นกราฟ Line Chart, Bar Chart, Bubble Chart ให้เลือกใช้ข้อมูลตามความเหมาะสมเลยค่ะ

คลิกดู Public Data

3. The Common Knowledge Project

อีกเครื่องมือปั้นคอนเทนต์ลงโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์อีกแห่งค่ะ เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่สร้างโดย Polygraph ภายใต้การสนับสนุนของ Google News Initiative เอง โดยสร้างมาเพื่อเป็นอีกเครื่องมือต่อกรกับ Fake News โดยเฉพาะ รวบรวมข้อมูล เช่น ผู้คน, การศึกษา, เศรษฐกิจ และเรื่องราวอาชญากรรมเป็นหลักเลยล่ะ

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก journaliststudio.google.com