Sharing Economy แชร์ค่ารถตามสไตล์แจเปน

Sharing Economy แชร์ค่ารถตามสไตล์แจเปน

เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน หรือ Sharing economy กำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลก พร้อมกับแจ้งเกิดสตาร์ทอัพมากหน้าหลายตาที่เรารู้จักกันดีอย่าง Uber ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนในโลกเป็นโซเฟอร์ได้, Airbnb ระบบที่ให้จองที่พักแบบให้แชร์ที่อยู่อาศัยร่วมกันได้ ฯลฯ

ปัจจัยอะไร ? ที่ทำให้ธุรกิจแบบแชร์กันได้รับการยอมรับจากผู้คนทั่วโลก กันทิมา วงศ์สถาปัตย์ ระบุความเห็นลงในนิตยสารการเงินการธนาคารเมื่อปี 2016 ว่าสาเหตุแจ้งเกิด Sharing economy มี 2 ปัจจัย

  • หลังจากวิกฤติการเงินโลก ปี 2008 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกอ่อนแอ มีอัตราการว่างงานสูง
  • การเข้าถึงข้อมูลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และการประมวลผลแบบ Cloud computing เพิ่มขึ้น มีอิทธิพลต่อความต้องการ และพฤติกรรมผู้บริโภค

แม้การสร้างโลกธุรกิจแชร์กันแบบ Sharing economy ไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยถูกกล่าวถึงครั้งแรกตั้งแต่ปี 1978 แต่ต้องขอเล่าอีกครั้ง

Sharing Economy แชร์ค่ารถตามสไตล์แจเปน
Cr. Pexels, https://www.pexels.com/photo/photo-of-cars-in-the-street-940035/

Cab-sharing ขอแจม Sharing Economy ด้วย

พื้นที่ประเทศที่ขนาดเล็กกว่าเมืองไทย ถึง 2 เท่า ญี่ปุ่นจึงให้ความสำคัญกับทรัพยากรเป็นอย่างมาก บวกกับการเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง คนญี่ปุ่นจึงตื่นตัวในการแบ่งปันให้กันและกัน อาจเป็นเพราะผู้ประกอบการแท็กซี่ญี่ปุ่นเกรงว่า รถโดยสารส่วนบุคคลจะเข้ามาเขย่าบังลังก์ธุรกิจรถแท็กซี่โดยสาร

ล่าสุด ญี่ปุ่นส่งแอพแชร์ค่ารถ Cab-sharing อิงกระแส Sharing economy บ้าง แม้จะไม่ใช่ Sharing economy รายบุกเบิก แต่ก็เป็นน้องใหม่แกะกล่องในญี่ปุ่นที่เกิดจากความร่วมมือของแท็กซี่ในประเทศ

นับต่อจากนี้ คนญี่ปุ่นไม่ต้องกลัวแท็กซี่แพง ทางเดียวกันไปด้วยกัน กับ Cab-sharing แอพพลิเคชั่นช่วยหารค่าแท็กซี่จากแดนปลาดิบ โดยกลุ่มแท็กซี่ในโตเกียว Nikhon Kotsu และ Daiwa Motor Transportation เปิดทดลองให้บริการ 949 แห่งทั่วประเทศ

Sharing Economy แชร์ค่ารถตามสไตล์แจเปน
Cr. Pexels, https://www.pexels.com/photo/architecture-billboards-buildings-cars-427747/

ธุรกิจเก่าต้องดิ้นเพื่อเอาตัวรอด

ด้วยจุดขายแอพแชร์ค่าเดินทางที่ให้ลูกค้าสามารถจับคู่ผู้ขับขี่คนอื่นมาแชร์รถแท็กซี่ร่วมกัน เพื่อให้แท็กซี่ชาวญี่ปุ่นสามารถต่อสู้กับ Uber และ Lyft ได้เป็นอย่างดี

แท็กซี่ญี่ปุ่นกำลังดิ้นรนเอาตัวรอด ท่ามกลางความกังวลของอิชิโร่ คาวานาเบะ ประธาน Nihon Kotsu และสมาคมรถเช่ารถแท็กซี่แห่งประเทศญี่ปุ่นที่หวั่นใจว่า การโดยสารรถแท็กซี่ส่วนตัวยังไม่เหมาะที่จะใช้งานในญี่ปุ่น เนื่องจากไม่สามารถควบคุมความปลอดภัย และคุณภาพ อิชิโร่ เชื่อว่า

“การมาของแอพแชร์ค่ารถ Cab-sharing จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้ายังคงใช้บริการ แท็กซี่เพราะเป็นแอพที่ช่วยให้ลูกค้าแชร์ค่ารถโดยสารได้ในราคาที่คุ้มค่ากว่าเดิม”

Sharing Economy แชร์ค่ารถตามสไตล์แจเปน
Cr. j-abc, http://www.j-abc.com/blog/tokyo-to-trial-cab-sharing-apps

แอพแชร์ค่าเดินทางนี้ทดลองกับชาวญี่ปุ่นก่อน โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ทำการทดลอง เพื่อความคุ้นเคย หลังจากนั้นค่อยเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ใช้แอพแชร์ค่ารถ Cab-sharing เขามั่นใจว่า ความต้องการบริการแอพแชร์ค่าเดินทางจะเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศญี่ปุ่นจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกนั้นเอง

แตกต่างหัวใจเดียวกัน

การใช้งานคล้ายกัน แต่แอพแชร์ค่ารถโดย Nihon Kotsu ทำงานในลักษณะเดียวกับ UberPOOL จับคู่ผู้โดยสารที่มุ่งหน้าไปทางเดียวกัน 2 ที่นั่งต่อการเรียกรถ 1 ครั้ง

กล่าวคือ ลูกค้าจะระบุการรับและจุดวางบนแผนที่ และแอพแชร์ค่าเดินทางจะค้นหาผู้โดยสารคนอื่นทันทีแบบอัตโนมัติ ค่าโดยสารจะลดลงประมาณ 20-40% ราคาถูกกว่าการนั่งรถแท็กซี่ธรรมดา

ส่วนบริการของค่าย Daiwa Motor จะเพิ่มลงในแอพพลิเคชั่นรถแท็กซี่ มีช่องกดใช้งานเหมือนกับโฆษณาย่อยสำหรับคนที่กำลังมองหาผู้ร่วมขับขี่

Sharing Economy แชร์ค่ารถตามสไตล์แจเปน
Cr. Wikimedia, https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Daiwa_Motor_Transportation_Toyota_JPN_Taxi.jpg

ในที่นี้ลูกค้าสามารถโพสต์ตารางการเดินทาง พร้อมกับจุดรับส่ง โดยสามารถกำหนดไว้ล่วงหน้า และมีกฎพิเศษที่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าเพิ่มเติมคือ “อนุญาตให้ลูกค้าเพศเดียวกันเดินทางโดยสารร่วมกันเท่านั้น”

แต่ถ้าลูกค้าไม่ได้กำหนดเพศลงบนโปรไฟล์ แต่แอพแชร์ค่ารถนี้ อาจจะค้นหาผู้ร่วมโดยสารยากขึ้น การต่อสู้แบบยักษ์ล้มยักษ์แบบนี้ ระหว่างสตาร์ทอัพกับเจ้าตลาดแท็กซี่ใครจะอยู่ใครจะไป งานนี้ผู้บริโภคมีแต่ Win กับ Win ทั้งนั้น

ที่มา: asia.nikkei.com, scbeic.com, bangkokbiznews.com, bloomberg.com