คู่แข่งเลียนแบบสินค้า ! เจอแบบนี้ต้องทำอย่างไร

โดน Copy ไม่ต้องกลุ้ม

เพราะปัญหาการโดนคู่แข่งเลียนแบบสินค้าเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะธุรกิจ SME ที่มีความโดดเด่น และเป็นที่สนใจของตลาดและลูกค้า และเพื่อหาคำตอบและทางออกว่า “ถูกคู่แข่งเลียนแบบสินค้าจะทำอย่างไร สิทธิบัตรจะช่วยเราได้แค่ไหน” Move on blog ขอนำคำตอบจากธนาคารทีเอ็มบี มาเล่าแบบ Insight ให้หายสงสัย !!

คู่แข่งเลียนแบบสินค้า อะไรจะช่วยเราได้ ?

อย่างที่ทราบดีว่า กว่าจะผลิตสินค้ามาได้สักชิ้นและเป็นสินค้าที่มีความแตกต่างจากตลาด สร้างแบรนด์ให้ติดตลาดมาดิบดี แต่ดั๊นถูกก็อปปี้จากคู่แข่ง และผลิตออกมาตัดราคาขายกับเราด้วยสิ! จะทำไงดีเนี้ยะ ? นำมุมมองของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจมาบอกเล่ากันดีกว่ากับเรื่องราว “อย่ากลัวการเลียนแบบ” เป็นมุมมองของคุณแจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ โรบินฮูดยุคไอที เล่าไว้ในปี 2556 แต่ก็ยังทรงพลังเป็นอย่างมาก

คุณแจ็ค ถ่ายทอดความคิดไว้อย่างน่าสนใจว่า “เพราะโลกธุรกิจย่อมหนีไม่พ้นเรื่องการแข่งขันการนำพาธุรกิจไปข้างหน้า จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่ง หรือสภาพการแข่งขันไปได้เลย ยิ่งเป็นนักธุรกิจหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่วงการ ก็มักจะหาลู่ทางด้วยการศึกษาคู่แข่งที่ทำมาก่อนแล้วเป็นส่วนใหญ่”

เพราะโลกธุรกิจย่อมหนีไม่พ้นเรื่องการแข่งขัน

หากพูดถึงเฉพาะสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้จริง และสามารถจดสิทธิบัตรได้ คุณแจ็คแนะนำว่า “สำหรับผู้ที่ถูกเลียนแบบก็ต้องไม่ท้อถอย และต้องมองให้ออกว่า นวัตกรรมที่เราสร้างขึ้นอาจถูกเลียนแบบได้รวดเร็วก็จริง แต่วิธีคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมที่จะต่อยอดเป็นสินค้า และการรังสรรค์บริการใหม่ที่เอาใจลูกค้าตัวจริงต่างหากที่จะทำให้เรานำคู่แข่งอยู่เสมอ”

นั่นหมายความว่า เราจะต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา และตามหาความสำเร็จอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อสร้างความได้เปรียบและตอกย้ำความเป็นผู้นำในสังเวียนนี้

อย่างไรก็ดี เพื่อความชัวร์กว่าใคร สิ่งที่จะช่วยดูแลรักษาสิทธิไม่ให้ใครสามารถมาลอกเลียนแบบไอเดีย และรักษาสิ่งเราคิดค้น คือ การจดสิทธิบัตร หนังสือสำคัญที่ทางรัฐบาลออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด  หากสินค้าเราถูกคู่แข่งเลียนแบบก็จะช่วยได้มากทีเดียวล่ะ

คู่แข่งเลียนแบบสินค้า ! เจอแบบนี้ต้องทำอย่างไร
Photo by rawpixel on Unsplash

ว่าแต่การขอสิทธิบัตรมีอะไรบ้าง

มีตั้งแต่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่สร้างสรรค์รูปร่างภายนอกของผลิตภัณฑ์ ลวดลายหรือสีของแบบผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากเดิม และสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • การขอรับการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ใหม่ โดยเป็นสินค้าที่ไม่เคยเปิดเผยรายละเอียดที่ไหนมาก่อน วันยื่นขอรับสิทธิบัตร และไม่มีการใช้และเผยแพร่มาก่อน ไม่ใช่งานที่พบเห็นได้ทั่วไป พูดง่าย ๆ คือ สินค้าที่ใหม่แกะกล่องจริง ๆ
  • การขอรับการคุ้มครองกรณีมีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น ในส่วนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นในการขอรับการคุ้มครองเพื่อจดสิทธิบัตรนี้ การประดิษฐ์ต้องเหมาะสำหรับผู้ที่มีความชำนาญ ผู้ขอจดสิทธิบัตรต้องเขียนรายละเอียดให้ชัดเจน มีเหตุผลที่สามารถนำไปสนับสนุนการพิจารณาเพื่ออนุมัติสิทธิบัตรได้ และขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นจะต้องแตกต่างจากเดิม โดยบอกเล่าลักษณะการทำงานและผลลัพธ์ของสิ่งประดิษฐ์ ที่จะได้ต้องมีความแตกต่างจากงานเดิมอย่างชัดเจน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม และมีประโยชน์ 

ข้อดีของการขอสิทธิบัตรให้ธุรกิจและสินค้า SME

ส่วนข้อดีของการจดสิทธิบัตร tmbbank.com บอกเล่าไว้ว่า มีประโยชน์ทางกฎหมายสามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องดำเนินคดีและเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่แข่งที่เลียนแบบ เราสามารถผลิตเพื่อจำหน่าย ใช้ ขาย มีไว้เพื่อเสนอขายสินค้าของเราได้อย่างเต็มที่

  • และยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับสินค้าและธุรกิจ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มราคาสินค้าและใช้ความแปลกใหม่เป็นตัวดึงดูดผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น
  • รวมทั้งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ ให้การขอเครื่องหมายรับรองมาตรฐานหรือคุณภาพอื่น ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวดเร็วขึ้น
  • ช่วยให้ขยายตลาดง่ายขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มช่องทางการเจาะโกอินเตอร์ในต่างแดน
  • ช่วยเพิ่มโอกาสในการหาเงินทุนเพื่อพัฒนาสินค้าต่อไป โดยสิทธิบัตรด้านการประดิษฐ์จะมีอายุคุ้มครอง 20 ปีขณะที่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์คุ้มครอง 10 ปีนับตั้งแต่วันขอยื่นจดสิทธิบัตร สิทธิบัตรจะเป็นส่วนหนึ่งของหลักประกันกู้ยืนเงินจากสถาบันการเงินได้อย่างหนึ่ง
  • นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มช่องทางการเจาะตลาดภาครัฐได้ง่าย ที่มีมาตรการสนับสนุนทางภาษีและการเงินได้อีกด้วย

ปัจจุบัน นักธุรกิจไทยก็ไม่ได้ละเลยในการจดสิทธิบัตรสินค้า โดยข้อมูลจากเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้เปิดเผยสถิติการจดสิทธิบัตรของแต่ละประเทศปี 2560 ว่าผู้จดสิทธิบัตรมากถึง 2,188 ราย เป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นแดนอาทิตย์อุทัยที่มี 2,728 ราย เห็นว่า คนไทยนิยมจดสิทธิบัตรด้านออกแบบผลิตภัณฑ์มากสุดถึง 2,092 ราย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียว !! อืม… เป็นข่าวและเรื่องราวที่น่าสนใจมาก ๆ จริง ๆ 

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *