Site icon moveonblog.com

Copy Content อย่าคิดว่ากูล (เกิ้ล) ไม่รู้

copy บทความ

“คิดจะทำคอนเทนต์หรอ ?  Copy ก็ได้ไม่เห็นจะยากตรงไหน ขโมยบทความไปเลยยังง่ายกว่า….”  

“…” ช่างเป็นประโยคเห็นแล้วรู้สึกใจหาย เกิดคำถามมากมายว่า “เกิดอะไรขึ้นกับสังคมคนทำคอนเทนต์” ในฐานะคนทำคอนเทนต์ตัวเล็ก ๆ คนนึง ยังเชื่อมั่นว่า “ไม่ใช่ทุกคนหรอกค่ะที่คิดแบบนั้น และไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะก็อปปี้คอนเทนต์”

การก็อปปี้ (Copy) งานคนอื่นเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรทำ โดยเฉพาะวงการคอนเทนต์ด้วยกัน ยิ่งไม่ควรทำ เพราะการลอกบทความนั้นไม่ได้ส่งผลดีกับใครทั้งนั้น เช่น การดูดภาพคนอื่นมาใช้ การลอกยกมาทั้งบทความ ยกมาทั้งยวงแบบไม่รีไรท์ หรือไม่ปรับเปลี่ยนอะไรทั้งนั้น ราวกับเป็นคอนเทนต์ฝาแฝดที่เกิดมาจากไข่ฟองเดียวกัน

ตามภาษาทางการเรียกการกระทำแบบนี้ว่า Plagiarism (อ่านว่า เพลตเจอริซึ่ม) เป็นการลอกเลียนอย่างไร้เกียรติ และเป็นปัญหาเรื้อรังที่มีมานานแสนนาน บางครั้งถูกเรียกอีกชื่อว่า “Duplicate Content” ด้วยพฤติกรรมมักง่าย ” Copy คอนเทนต์แบบทำไปเถอะ ไม่มีใครรู้หรอก” อะแฮ่ม ๆ คงต้องกล่าวตามสโลแกนว่า “ตาวิเศษเห็นนะ” 

และ moveonblog.com ขอออกโรงเตือนเลยว่า!! ข้อเสียของการคัดลอกคอนเทนต์ของคนอื่นมาลงเว็บไซต์นั้น ยิ่งเป็นคอนเทนต์ที่ซ้ำกันแต่อยู่คนละโดเมนแต่เหมือนกันอย่างกับแกะมาวาง !!

จับได้ว่าเราถูก Copy

มั่นใจว่าโดนคัดลอก… บทความภาษาไทย แนะนำให้เราเช็กข้อมูลด้วยตาเปล่าเบื้องต้น อ่านแล้วเทียบ ประโยคต่อประโยค ว่าใกล้เคียงแค่ไหน หลังจากนั้นเราก็ส่งข้อมูลตรงหาเว็บไซต์ที่คัดลอกบทความเรา เพื่อขอลิงก์อ้างอิง นี่เป็นวิธีการที่ต้องใช้ความอึด ทึก ทน และต้องมีเวลาในการเสาะแสวงหา … ยังมีวิธีการเช็กว่า “Copy Content ที่หลากหลายวิธีการ” เดี๋ยว moveonblog.com จะหามาอธิบายเพิ่มเติมนะจ้ะ

 

แล้วคนซื้อคอนเทนต์เราจะรู้ได้ไงล่ะ ? ว่าคอนเทนต์ที่ซื้อไม่ได้ Copy แนะนำให้เช็กกับเว็บ smallseotools.com 

ถูก Copy ให้บอก Google

ถ้าพูดกันดี ๆ ส่งอีเมลไปบอก หรือแชทหาเว็บไซต์คัดลอกบทความแล้ว สิ่งที่ได้กลับมาคือความว่างเปล่า ไม่หือไม่อือ… เกินเยียวยาไปไกล เราสามารถแจ้งเรื่องดังกล่าวกับเว็บไซต์ Google Copyright Removal วิธีการนี้อาจจะต้องรอ..

1. เตรียมข้อมูลส่วนตัวของผู้แจ้ง (Contact Information)

อย่าลืมติ้กถูกในช่อง “I confirm that I am the copyright holder for the content in question, and I am not filing this notice on behalf of another party” เพื่อคอนเฟิร์มว่าเป็นเจ้าของเนื้อหา

2. ระบุข้อมูลที่มีการละเมิด ตรงกล่อง Identify and describe the copyrighted work

3. กรอกลิงก์ (URL) คอนเทนต์ต้นฉบับของเราลงที่ในกล่อง Where can we see an authorized example of the work?

4. กรอกลิงก์ (URL) เว็บไซต์จอมก็อปปี้ลงที่ Location of infringing material เพื่อแจ้งการละเมิด

แล้วก็ดำเนินการตามที่ Google สอบถามเลยนะคะ พร้อมกับลงนาม ระบุวันที่แจ้งเอาไว้ พร้อมกับลายเซนต์ของผู้แจ้งละเมิดลิขสิทธิ์คอนเทนต์ ซึ่งทางกูลเกิ้ลจะเป็นฝ่ายพิสูจน์เองว่า “ใคร Copy ใคร”

ใจจริงของผู้เขียน moveonblog.com ก็ไม่อยากให้ถึงขั้นตอนต้องแจ้ง Google หรอกค่ะ เพราะเสียเวลาของผู้แจ้งเรื่อง ถ้าเป็นไปได้ก็อยากรณรงค์ให้นักคอนเทนต์ทั้งหลาย หยุด Copy หยุดหากินง่าย ๆ เลิก Ctrl + C แล้ว Ctrl + V เพื่อสร้างสังคมแห่งแรงบันดาลใจดี ๆ และ Move on ไปด้วยกัน

ตกผลึกจาก ahrefs.comcodingdee.com, support.google.com